ต้นโสกเหลือง

ต้นโสกเหลือง

    IMG_20131222_163902 IMG_20131223_101847 IMG_20131222_163922IMG_20131222_163855 IMG_20131222_163851

ต้น โสกเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca thaipingensis Cantley ex Prain ชื่อพื้นเมือง ศรียะลา อโศกใหญ่ อโศกเหลือง สถานภาพ พืชหายาก นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ในประเทศ ภาคใต้ของไทย

ต้นอโสกระย้าแดง

IMG_20131223_143924 IMG_20131223_143935 IMG_20131223_143948 IMG_20131223_144007 IMG_20131223_144017 IMG_20131223_144140 IMG_20131223_144148 IMG_20131223_145301 IMG_20131223_145305 IMG_20131223_145311 IMG_20131225_102228 IMG_20131225_102244 IMG_20131225_102315

 

 

ชื่อ โสกระย้า
ชื่อวิยาศาสตร์ Amherstia nobilis Wall.

ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อเรียกอื่น
ลักษณะ ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ยอดอ่อนสีจางและห้อยลง ใบ เป็นใบประกอบแบบปลายคู่ มีใบย่อย 6-8 คู่ รูปขอบขนาน ถึงแกมรูปไข่ กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบเกลี้ยง หูใบหลุดร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง ดอกย่อย สีแดงสด ขนาด 5-8 ซม. กลีบรองดอก 4 กลีบ คล้ายกลีบดอก กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สองกลีบล่างขนาดเล็ก กลีบข้าง รูปช้อนสีแดงส่วนปลายกลีบมนมีสีแกมเหลือง กลีบบนแผ่รูปพัด ขอบเป็นคลื่น มีจุดและแถบคล้ายรูปตัววีสีแดง ล้อมรอบด้วยแถบ สีเหลือง เกสรผู้ 10 อัน ก้านชูเกสรเพศเมียสีแดง ยาว 4 ซม. ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนานโค้ง กว้าง 3-4 ซม. ยาว 15-20 ซม. ผลแก่แตกตามรอย ตะเข็บข้างภายใน มี 4-6 เมล็ด รูปกลม
การกระจายพันธุ์ อินเดีย เมียนม่าห์ อินโดจีน และภาคเหนือของประเทศไทย ตามริมห้วยในป่าดิบแล้ง ออกดอก ช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
ประโยชน์ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
แหล่งข้อมูล หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7